ประวัติหน่วยงาน

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 โดยได้มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2547 เป็นต้นมา ซึ่งในขณะนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยตั้งใหม่ ตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ. 2548 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2548 มีการจัดตั้งหน่วยงานระดับ คณะ สำนัก ศูนย์ สถาบัน รวม 6 คณะ 3 สำนัก 1 สถาบัน ได้แก่ คณะครุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร สำนักงานอธิการบดี สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักศิลปะและวัฒนธรรมและสถาบันวิจัยและพัฒนา
           ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏ พิบูลสงคราม พ.ศ. 2549 ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยได้มีการแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ดังต่อไปนี้ สำนักงานอธิการบดี แบ่งเป็น

  • กองกลางกองนโยบายและแผน
  • กองบริการการศึกษา
  • กองบริหารงานบุคคล
  • กองพัฒนานักศึกษา
  • สำนักงานมาตรฐานและประกันคุณภาพ

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ   ปัจจุบัน ในปี พ.ศ.2558 ได้มีประกาศแบ่งส่วนราชการในกองบริหารงานบุคคลเป็น  6 หน่วยงานได้แก่

  • งานบริหารทั่วไป
  • งานทะเบียนประวัติและสวัสดิการ
  • งานกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
  • งานอัตรากำลังและค่าตอบแทน
  • งานพัฒนาและฝึกอบรม
  • งานวินัยและนิติกร

ปณิธาณปณิธาณ

กองบริหารงานบุคคล บริหารเด่น เน้นบริการ ประสานภารกิจ มุ่งผลสัมฤทธิ์ของมหาวิทยาลัย

ปรัชญา

มนุษยสัมพันธ์เด่น เน้นบริการและคุณภาพ

วิสัยทัศน์

กองบริหารงานบุคคล” เป็นศูนย์กลางในการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

พันธกิจ

1. สรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่จะเข้ามาปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย
2. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ สมรรถนะ ทักษะ
3. รักษาบุคลากรในมหาวิทยาลัย โดยจัดหาสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ให้กับบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยเพื่อก่อให้เกิดขวัญ กำลังใจต่อการปฏิบัติงานและเกิดความมั่นคง ก้าวหน้าต่อการปฏิบัติงาน
4. ใช้ประโยชน์จากบุคลากรในมหาวิทยาลัยให้สามารถนำความรู้ความสามารถออกมาใช้ต่อการปฏิบัติงานเพื่อเป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น